in ,

Quidditch Through the Ages [ฉบับย่อ]

Quidditch Through the Ages [ฉบับย่อ]

บทที่ 1 วิวัฒนาการของไม้กวาดบิน

ทำไมถึงต้องเป็นไม้กวาด?

พวกพ่อมดแม่มดฉลาดพอที่จะรู้ว่า  ถ้าเพื่อนบ้านมักเกิ้ลล่วงรู้ถึงอำนาจเวทมนตร์ของพวกเขาก็

คงจะหาทางเอารัดเอาเปรียบใช้ประโยชน์จากเวทมนตร์เต็มที่ ดังนั้นพ่อมดแม่มดจึงมักเก็บตัว

เงียบไม่สังสรรค์กับเพื่อนบ้านมักเกิ้ล    ตั้งแต่ก่อนจะมีการประกาศใช้กฎหมายนานาชาติเรื่อง

ความลับของพ่อมดถ้าพวกเขาต้องเก็บเครื่องมือช่วยบินไว้ในบ้าน   เครื่องมือนั้นก็จำเป็นต้อง

เป็นสิ่งที่ไม่ผิดสังเหต และซ่อนได้ง่ายๆไม้กวาดถึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดสำหรับจุดมุ่ง

หมายนี้ไม่ต้องมีคำอธิบายใดๆ   ไม่ต้องมีข้อแก้ตัวถ้าพวกมักเกิ้ลมาเจอไม้กวาดในบ้านทั้งยัง

ขนไปไหนๆได้ง่ายและราคาไม่แพงอีกด้วย

————————————————————————————————————

บทที่ 2การละเล่นด้วยไม้กวาดในสมัยโบราณ

 

กีฬาที่ใช้ไม้กวาดเริ่มขึ้นเกือบจะทันทีที่ไม้กวาดได้พัฒนามาพอที่ผู้บินสามารถเลี้ยวโค้งและ

ปรับอัตราความเร็วและความสูงได้     งานเขียนและภาพวาดของพ่อมดแม่มดในยุคต้นๆช่วย

ให้เรารู้ว่ามีการละเล่นใดบ้างที่บรรพบุรุษของเราชอบเล่นและหลายอย่างได้พัฒนาต่อมาเป็น

กีฬาที่เรารู้จักดีในปัจจุบันการแข่งไม้กวาดประจำปีที่มีชื่อเสียงมากของสวีเดน  เริ่มต้นตั้งแต่

คริสต์ศตวรรษที่10ผู้เล่นแข่งกันบินจากเมืองคอพพาเบิร์กไปยังเมืองอาร์จีพล็อกซึ่งเป็นระยะ

ทางมากกว่าสามร้อยไมล์เล็กน้อยเส้นทางนั้นต้องผ่านบริเวณเขตสงวนของมังกรถ้วยรางวัล

ทำด้วยเงินใบใหญ่จึงทำเป็นรูปมังกรพันธุ์สวีเดนจมูกสั้น    ทุกวันนี้การแข่งขันกลายเป็นงาน

ระดับนานาชาติ   พ่อมดแม่มดทุกเชื้อชาติจะมาชุมนุมกันที่คอพพาเบิร์กเพื่อเชียร์ผู้แข่งขันที่

จุดเริ่มต้นแล้วหายตัวไปยังเมืองอาร์จีนพล็อก เพื่อแสดงความยินดีกับผู้ที่รอดมาได้ภาพวาดที่มี

ชื่อเสียงชื่อGunther der Gewalttatigeist der Gewinner(กุนเทอร์จอมรุนแรงเป็นผู้ชนะ)

ที่วาดเมื่อ ค.ศ.1105 แสดงถึงการละเล่นของเยอรมันในสมัยโบราณที่เรียกว่า     สติชสต็อก

(Stichstock)           เกมสติชสต็อกนี้เลิกไปในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในไอร์แลนด์มีการเล่น

เกมที่เรียกว่าไอจินเจน(Aingingein)    สกอตแลนด์เป็นแหล่งกำเนิดการเล่นไม้กวาดที่อาจ

อันตรายที่สุดก็ว่าได้เกมนี้เรียกว่าครีโอเชี่ยน(Creaothcean)  ถูกประกาศให้เป็นการเล่นที่

ผิดกฎหมายเมื่อค.ศ.1762  และแม้ว่าแมกนัส แมกโดนัลด์ (สมญาว่าแมกนัสหัวบุบ)จะเป็น

หัวหอกเรียกร้องให้นำกลับมาเล่นใหม่เมื่อช่วงทศวรรษที่1960กระทรวงเวทมนตร์ก็ปฏิเสธ

ที่จะยกเลิกการสั่งห้ามซันต์บันส์ (Shuntbumps) เกมสวีฟเวินฮอชนี้ยังคงเล่นอยู่ในประเทศ

อังกฤษแม้ว่าจะไม่ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วก็ตาม ส่วนเกมซันต์บัมส์ตอนนี้เป็นแค่เกม

ของพวกเด็กๆ   อย่างไรก็ตาม ที่หนองน้ำชื่อเควียดิชการละเล่นอย่างหนึ่งเกิดขึ้นและวันหนึ่ง

จะกลายเป็นกีฬาสุดยอดนิยมในโลกของผู้วิเศษ

————————————————————————————————————

 

บทที่ 3การละเล่นจากหนองน้ำเควียดิช

 

 เราเป็นหนี้ความรู้เรื่องการเริ่มต้นของเกมควิชดิชจากงานเขียนของแม่มดชื่อเกอร์ตี้ เค็ดเดิล

ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ที่ริมหนองน้ำเควียดิชในคริสต์ศวรรษที่ 11 โชคดีของเราที่เกอร์ตี้เขียนบันทึก

ประจำวันไว้ปัจจุบันบันทึกนี้เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ควิชดิชในกรุงลอนดอน

ความรู้ประการแรก    คือลูกบอลที่หล่นลงมาในแปลงกะหล่ำปลีของเธอทำจากหนังเหมือนกับ

ลูกควัฟเฟิลในปัจจุบันแน่นอนเพราะว่าลูกบอลที่ทำจากถุงกระเพาะเป่าลมให้พองในเกมการเล่น

ด้วยไม้กวาดอื่นๆในยุคนั้นคงยากที่จะขว้างให้ได้แม่นยำโดยเฉพาะเมื่อลมพัดแรงจัด ประการที่ 2

เกอร์ตี้เล่าให้เราฟังว่าพวกคนเล่นพยายามขว้างลูกบอลไปให้ติดต้นไม้ที่ปลายใดปลายหนึ่งของ

หนองเห็นได้ชัดว่านี้เป็นการทำคะแนนในช่วงยุคต้นๆประการที่3 เธอทำให้เราเห็นต้นกำเนิดของ

ลูกบลัดเจอร์ด้วยนิดหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือว่า ผู้วิเศษชาวสกอตตัวเบิ้ม    ปรากฏตัวด้วยเป็น

ไปได้ไหมว่าเขาเป็นผู้เล่นเกมครีโอเชี่ยนเป็นความคิดของเขาหรือเปล่าที่เสกให้ก้อนหินใหญ่ๆ

บินพุ่งเร็วจี๋และอันตรายไปรอบๆสนามโดยได้แรงบันดาลใจมาจากก้อนหินใหญ่ที่ใช้ในการเล่น

เกมประจำชาติของเขาเราไม่พบหลักฐานอื่นที่กล่าวถึงกีฬาที่เล่นกันที่หนองน้ำเควียดิชอีกจน

กระทั่งหนึ่งศตวรรษต่อมาเมื่อพ่อมดชื่อกู๊ดวินนีนจับปากกาขนนกเขียนจดหมาย  ถึงลูกพี่ลูกน้อง

ชาวนอร์เวย์ชื่อ  โอลาฟ นีน ซึ่งอาศัยอยู่ที่ยอร์กเชอร์จากจดหมายนี้แสดงให้เห็นว่ากีฬานี้ได้

เผยแพร่ไปเกาะบริเตนในช่วง100 ปีหลังจากที่เกอร์ตี้   ได้เห็นการเล่นนี้ป็นคนแรกจดหมาย

ของนีนเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุของกระทรวงเวทมนตร์นอร์เวย์

 ————————————————————————————————————

 

บทที่ 4 ลูกสนิชสีทองปรากฏโฉม

 

นับแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 เรื่อยมาการล่านกสนิดเจ็ต(ปัจจุบันเป็นนกที่ได้รับการคุ้มครอง)

เป็นกีฬาที่นิยมมมากในหมู่พ่อมดแม่มด  เนื่องจากนกสนิดเจ็ตมีขนาดเล็กจิ๋ว  ทั้งบินได้คล่อง

แคล่วว่องไวมาก และเก่งเป็นเยี่ยมเรื่องหลบหลีกสัตว์ที่ไล่ล่ามันเป็นอาหารพ่อมดแม่มดที่จับ

นกนี้ได้จึงมีชื่อเสียงเป็นที่นับถือยิ่งนัก    การล่านกสนิดเจ็ตเป็นสิ่งที่น่าประนามในหลายกรณี

ด้วยกันพ่อมดที่มีความคิดคนไหนก็ตามคงต้องสลดใจ กับการอ้างกีฬามาทำลายนกตัวน้อยๆ

ที่รักสงบเช่นนี้ยิ่งไปกว่านั้น  การล่านกสนิดเจ็ตซึ่งมักทำกันกลางแจ้งตอนกลางวันทำให้พวก

มักเกิ้ลมีโอกาสเห็นไม้กวาดบินได้ยิ่งกว่าการไล่ล่าสัตว์อื่นๆทั้งหลายอย่างไรก็ตามสภาพ่อมด

แม่มดในสมัยนั้นไม่สามารถลดทอนความนิยมไล่ล่านกสนิดเจ็ตลงได้เลย และที่จริงดูเหมือน

ว่าสภาเองก็ไม่เห็นว่าการล่านี้จะผิดร้ายกาจตรงไหนในที่สุดการล่านกสนิดเจ็ตมาเกี่ยวโยงกับ

การเล่นควิดดิชเมื่อค.ศ.1296 ครั้งที่บาร์เบรียส แบรกกี้ ประธานของสภาพ่อมดมาร่วมชมการ

แข่งขันควิดดิชด้วยและนำนกสนิดเจ็ตซึ่งถูกขังอยู่ในกรงมาที่การแข่งขันและประกาศแก่ผู้เล่น

ที่ชุมนุมกันในสนามว่า  เขาจะให้เงินจำนวน หนึ่งร้อยห้าสิบเกลเลียน  เป็นรางวัลสำหรับผู้เล่น

ที่จับนกสนิดเจ็ต  ได้ระหว่างการแข่งขันซึ่งทำให้ผู้เล่นทั้งหมดต่างมุ่งที่จะไล่ล่านกสนิดเจ็ตก่อ

ให้เกิดความสับสนวุ่นวายเป็นอันมากนับจากนั้นเป็นต้นมานกสนิดเจ็ตสีทองก็ถูกปล่อยออกมา

ในการแข่งขันควิดดิชทุกครั้งผู้เล่นหนึ่งคนในแต่ละทีม(ฮันเตอร์) มีหน้าที่เดียวคือไล่จับนกให้

ได้ เมื่อนกถูกฆ่าเกมก็ยุติและทีมของฮันเตอร์ได้หนึ่งร้อยห้าสิบแต้มเพิ่มขึ้นมาเป็นพิเศษ (เพื่อ

ระลึกถึงเงินจำนวน150เกลเลียนที่ประธานแบรกกี้เคยสัญญาไว้  อย่างไรก็ตามประมาณกลาง

ศตวรรษต่อมานกสนิดเจ็ตสีทองลดจำนวนลงมาก   จนกระทั่งสภาพ่อมดต้องประกาศให้เป็น

สัตว์คุ้มครอง  และห้ามทั้งฆ่าหรือใช้นกนี้ในเกมควิดดิชด้วย  ต้องยกความดีให้แก่  พ่อมดชื่อ

โบมัน ไรต์ แห่งกอดดริกส์ฮอลโลว์ ในการประดิษฐ์ลูกสนิชสีทอง  มาใช้ในกีฬาควิดดิชแทน

นกสนิดเจ็ตไรต์ซึ่งเป็นนักเสกเป่าโลหะที่ชำนาญ

 ————————————————————————————————————

บทที่ 5 การเตรียมตัวสกัดกั้นพวกมักเกิ้ล

ใน ค.ศ.1398 พ่อมดชื่อ แซกคาเรียส มัมส์ ได้ลงมือเขียนคำอธิบายที่สมบูรณ์เกี่ยวกับกีฬา

ควิดดิชเป็นครั้งแรกเขาเริ่มต้นโดยเน้นความจำเป็นที่ต้องมีการรักษาความปลอดภัยจากพวก

มักเกิ้ลระหว่างการแข่งขัน‘เลือกบริเวณทุ่งในที่ราบสูงที่เปลี่ยวๆให้ไกลจากที่อยู่ของมักเกิ้ล

และให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครเห็นเวลาที่บินขึ้นไปบนไม้กวาดแล้ว คาถาสกัดมักเกิ้ลมีประโยชน์

ถ้าต้องการจัดตั้งสนามถาวรขอแนะนำให้เล่นแต่ตอนกลางคืนด้วย

 ———————————————————————————————————

บทที่ 6 การเปลี่ยนแปลงในกีฬาควิดดิชตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14

 

แซกคาเรียส มัมส์บรรยายสภาพสนามในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ว่าเป็นรูปไข่ยาวห้าร้อยฟุต

และกว้างหนึ่งร้อยแปดสิบฟุต มีวงกลมเล็กๆ ตรงกลาง(เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณสองฟุต)

มัมส์เล่าว่ากรรมการ  (หรือที่เรียกกันในเวลานั้นว่าควีจัดจ์)  ถือลูกบอลสี่ลูกในวงกลมตรง

กลางนี้โดยที่มีผู้เล่นสิบสี่ คนยืนอยู่รอบๆ ทันทีที่ลูกบอลถูกปล่อยลอยไป (กรรมการขว้าง

ลูกควัฟเฟิล ดูเรื่อง ควัฟ-เฟิล ที่อยู่ถัดไป)ผู้เล่นจะแข่งกันบินขึ้นไปในอากาศ ในสมัยของ

มัมส์ประตูนั้นยังคงเป็นตะกร้าใบใหญ่แขวนบนเสาสูงเมื่อ ค.ศ. 1620 ควินตัส อัมฟราวิลล์

เขียนหนังสือเรื่องกีฬาชั้นสูงของผู้วิเศษ  มีภาพแผนผังสนามในคริสต์ศตวรรษที่17รวมอยู่

ด้วยเราจะเห็นว่ามีการเพิ่มสิ่งที่เรารู้จักกันว่าเป็น’เขตทำคะแนน'(ดูเรื่องกติกาในตอนต่อไป)

ตะกร้าที่บนยอดเสานั้นเล็กและอยู่สูงกว่าในสมัยของมัมส์พอถึง ค.ศ. 1883  เลิกใช้ตะกร้า

ในการทำคะแนน  และเปลี่ยนมาใช้เสาประตูดังเช่นที่ใช้กันทุกวันนี้มีรายงานเรื่องประดิษฐ์

นวัตกรรมใหม่นี้ในหนังสือพิมพ์เดลี่พรอเฟ็ต    สมัยนั้นสนามควิดดิชไม่มีการเปลี่ยนแปลง

อีกต่อไปนับตั้งแต่นั้นมา

ลูกบอล

ควัฟเฟิล

ควัฟเฟิลปัจจุบันมีเส้นผ่าศูนย์กลางสิบสองนิ้วและไม่มีตะเข็บเลย ตอนแรกใน

การแข่งขันฤดูหนาวปี ค.ศ.1711     แม่มดชื่อเดซี่เพนนีโฟลด์ก็เกิดความคิด

เสกควัฟเฟิลว่า    ถ้ามันตกให้ค่อยๆตกลงไปที่พื้นเหมือนกับว่ามันกำลังจมลง

ไปในน้ำหมายความว่าเชสเซอร์สามารถบินลงไปคว้าควัฟเฟิลที่ตกมาได้กลาง

อากาศ ‘ควัฟเฟิลเพนนีโฟลด์’ ยังคงใช้กันอยู่จน ทุกวันนี้ 

บลัดเจอร์ 

ปัจจุบันนี้บลัดเจอร์ทุกลูกทำด้วยเหล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวสิบนิ้วบลัดเจอร์

ถูกเสกให้ไล่ตามผู้เล่นโดยไม่แยกแยะ        ถ้าปล่อยให้บลัดเจอร์เป็นไปตาม

ธรรมชาติของมันบลัดเจอร์จะบุกใส่ผู้เล่นที่อยู่ใกล้มันที่สุด ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่

ของบีตเตอร์ที่จะหวดไล่บลัดเจอร์ไปให้ไกลจากทีมมากที่สุด  เท่าที่จะทำได้

ลูกโกลเด้นสนิช

ลูกสนิชสีทองมีขนาดเท่าลูกวอลนัตเช่นเดียวกับนกสนิดเจ็ตลูกสนิชสีทองถูก

เสกให้หนีการไล่จับให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

ผู้เล่น

คีปเปอร์ ทำหน้าที่เหมือนเชสเซอร์แต่มีความรับผิดชอบพิเศษเพิ่มเติมพวกเขาได้รับอนุญาต

ให้บินไปได้ทั่วสนามและทำคะแนนได้ด้วยแต่เมื่อถึงสมัยที่ควินตัสอัมฟราวิลล์     เขียนเรื่อง

กีฬาชั้นสูงของผู้วิเศษ    เมื่อ ค.ศ.1620 หน้าที่ของคีปเปอร์ง่ายขึ้นมีการเพิ่มเขตทำคะแนน

เข้ามาในสนาม       และกำหนดให้คีปเปอร์อยู่ในบริเวณดังกล่าวคอยป้องกันตะกร้าของตน

คีปเปอร์จะบินออกมาจากบริเวณนั้นได้      ในกรณีที่ต้องการข่มขวัญเชสเซอร์ฝ่ายตรงข้าม

หรือผลักดันให้เชสเซอร์บินหลบหลีกไปตั้งแต่เนิ่นๆ

บีตเตอร์ในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมาหน้าที่ของบีตเตอร์เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้นตำ

แหน่งของบีตเตอร์นี้น่าจะมีมาตั้งแต่เมื่อนำลูกบลัดเจอร์เข้ามาเล่นด้วยหน้าที่แรกของบีตเตอร์

คือป้องกันสมาชิกจากลูกบลัดเจอร์ โดยมีไม้ตีเป็นเครื่องช่วย

เชสเซอร์ เชสเซอร์เป็นตำแหน่งที่ได้สิบแต้มทุกครั้งที่ปาลูกควัฟเฟิลเข้าตะกร้าเมื่อค.ศ.1884

หนึ่งปีหลังจากที่มีการใช้ห่วงประตูแทนตะกร้ากติกาใหม่ที่นำมาใช้กำหนดว่าเฉพาะเชสเซอร์

ที่ถือลูกควัฟเฟิลเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าไปในเขตทำคะแนนถ้ามีเชสเซอร์มากไปกว่าหนึ่งคนเข้าไป

ในเขตดังกล่าว  ให้ถือว่าประตูที่ทำได้เป็นโมฆะ

 

ซีกเกอร์  ปกติแล้วซีกเกอร์เป็นผู้เล่นที่ตัวเบาที่สุดและบินได้เร็วที่สุดนอกจากนี้ ซีกเกอร์ยัง

ต้องมีทั้งตาที่ไว     และสามารถบินได้โดยจับไม้กวาดด้วยมือเดียวหรือไม่จับเลยตำแหน่ง

ซีกเกอร์มีความสำคัญมาก   ต่อผลการแข่งขันทั้งหมดเพราะบ่อยครั้งที่การจับสนิชได้ช่วย

เปลี่ยนสภาพความพ่ายแพ้มาเป็นคว้าชัยชนะได้

 

กติกา

กติกาต่อไปนี้เป็นกฎที่กองควบคุมดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์กำหนดไว้เมื่อมีการก่อตั้งกองขึ้นในค.ศ.1750

1. แม้ว่าจะไม่มีการจำกัดระดับความสูงที่ผู้เล่นจะสามารถบินขึ้นไปบนท้องฟ้า

ในระหว่างการแข่งขันแต่ผู้เล่นไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย ต้องไม่บินเลย ออก

ไปนอกเส้นกำหนดเขตสนามถ้าผู้เล่นบินข้ามเส้นเขตสนามไปทีมของผู้เล่นคน

นั้นต้องยกลูกควัฟเฟิลให้ทีมฝ่ายตรงข้าม

2. กัปตันทีมสามารถขอ ‘เวลานอก’ ได้โดยทำสัญญาณบอกกรรมการ นี่เป็น

ช่วงเวลาเดียวในระหว่างการแข่งขันที่อนุญาตให้เท้าของผู้เล่นแตะพื้นสนามได้

เวลานอกอาจยืดทำให้นานถึงสองชั่วโมงถ้าการแข่งขันนั้นเล่นกันมานานกว่า

สิบสองชั่วโมงแล้วถ้าทีมใดไม่กลับมาที่สนามภายในสองชั่วโมงให้ ตัดสิทธิ์ทีม

นั้นทันที

3. กรรมการสามารถลงโทษทีมผู้เล่นได้เชสเซอร์ที่ได้ลูกโทษจะบินจากวงกลม

ตรงกลางไปยังเขตทำคะแนนผู้เล่นทั้งหมด ยกเว้นคีปเปอร์ของทีมฝ่าย ตรงข้าม

ต้องอยู่ข้างหลังระหว่างที่มีการขว้างลูกโทษ

4. สามารถแย่งลูกควัฟเฟิลจากมือของผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งได้แต่ห้ามผู้เล่นแตะต้อง

ร่างกายไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของผู้เล่นอีกฝ่ายไม่ว่าในกรณีใดๆ

5. ในกรณีที่ผู้เล่นบาดเจ็บไม่ให้มีผู้เล่นสำรองมาแทน ทีมต้องเล่นต่อไปโดยไม่

มีผู้เล่นที่บาดเจ็บนั้น

6. สามารถนำไม้กายสิทธิ์ติดตัวเข้าไปในสนามได้แต่ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม ห้าม

ใช้ไม้กายสิทธิ์กับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามห้ามใช้กับไม้กวาดของอีกฝ่าย และห้ามใช้

กับกรรมการ ลูกบอล และคนดูด้วย

7. เกมควิดดิชจะยุติได้ต่อเมื่อจับลูกสนิชสีทองได้หรือด้วยความยินยอมพร้อมใจ

ของกัปตันทีมทั้งสองฝ่าย

การทำผิดกติกา

 

แบลกกิ้ง (Blagging)

แบลทชิ่ง (Blatching)

เบลิร์ตติ้ง (Blurting)

บัมฟิ่ง (Bumphing)

ค้อบบิ้ง (Cobbing)

แฟล้กกิ้ง (Flacking) 

แฮเวอร์แซกกิ้ง (Haversacking)

ควัฟเฟิลพอกกิ้ง (Quafflepocking)

สนิชนิป (Snitchnip)

สตูจิ้ง (Stooging)

 

 

กรรมการ

การเป็นกรรมการในการแข่งขันควิดดิชนั้นแต่เดิมเป็นหน้าที่สำหรับพ่อมดแม่มดที่กล้าหาญที่

สุดเท่านั้น กรรมการจะมีผู้ช่วยคือเจ้าหน้าที่ซึ่งยืนอยู่รอบเส้นเขตสนาม    เจ้าหน้าที่เหล่านี้

จะคอยดูไม่ให้ผู้เล่นคนไหนหรือลูกบอลลูกใดล้ำออกมานอกเส้น  ในเกาะบริเตนกองควบคุม

ดูแลเกมและกีฬาเวทมนตร์เป็นผู้คัดเลือกกรรมการควิดดิชกรรมการต้องผ่านการทดสอบการ

บินที่เข้มงวดมากและต้องผ่านการสอบข้อเขียนละเอียดยิบเรื่องกติกาควิดดิชต่างๆ นอกจาก

นั้นยังต้องผ่านการทดสอบอีกมากมายหลายชุดเพื่อพิสูจน์ว่าพวกเขาจะไม่เสกคาถาใส่ผู้เล่น

ที่ก้าวร้าวแม้ว่าจะอยู่ภายใต้ความกดดันรุนแรงมากเพียงใดก็ตาม


————————————————————————————————

 

บทที่ 7 ทีมควิดดิชในเกาะบริเตนและไอร์แลนด์

 

แอปเปิ้ลบี้ แอร์โรว์ส (Appleby Arrows)

บัลลี่แคสเซิล แบตส์ (Ballycastle Bats)

 คาร์ฟิลลี่ แคททะพัลส์ (Caerphilly Catapults)

ชัดลีย์ แคนนอนส์ (Chudley Cannons)

ฟัลมัท ฟอลคอนส์ (Falmouth Falcons)

โฮลี่เฮด ฮาร์ปีส์ (Holyhead Harpies)

เคนแมร์ เคสเตรลส์ (Kenmare Kestrels)

มอนโทรส แมกไพส์ (Montrose Magpies)

ไพรด์ ออฟ พอร์ตทรี (Pride of Portree)

พัดเดิลเมียร์ ยูไนเต็ด (Puddlemere United)

ทัดชิล ทอร์เนโดส์ (Tutshill Tornados)

วิกทาวน์ วันเดอเรอส์ (Wigtown Wanderers)

วิมบอร์น วอพส์ (Wimbourne Wasps)

 

———————————————————————————————————-

บทที่ 8 การแพร่กระจายของกีฬาควิดดิชไปทั่วโลก

ยุโรป  กีฬาควิดดิชตั้งหลักฐานมั่นคงในไอซ์แลนด์เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่14 พิสูจน์ได้จาก

บันทึกของแซกคาเรียส มัมส์ที่เล่าเรื่องการแข่งขันเมื่อ ค.ศ. 1385 เรารู้ว่านอร์เวย์เป็นประ

เทศแรกๆที่รับกีฬานี้มาเล่นในปีค.ศ. 1473       มีการแข่งขันควิดดิชเวิลด์คัพเป็นครั้งแรก

แม้ว่าทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันจะมีแต่ชาติในยุโรปเท่านั้น         ยูโรเปี้ยนคัพก่อตั้งขึ้นในปี

ค.ศ. 1652และจัดให้มีการแข่งขันกันทุกๆสามปีนับแค่นั้นมา

ในประเทศเยอรมนี  เราพบทีมไฮด์เบิร์ก แฮร์เรียส์ (Heidelberg Harriers) ทีมนี้ ดาเรน โอแฮร์

กัปตันทีมชาติไอริชเคยให้คำชมที่มีชื่อเสียงว่า ‘ดุร้ายยิ่งกว่ามังกรและฉลาดกว่าเป็นสองเท่าด้วย’

ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์  มีผู้นำควิดดิชเข้าไปเผยแพร่ในนิวซีแลนด์เมื่อประมาณคริสต์

ศตวรรษที่17เชื่อกันว่าเป็นทีมนักสมุนไพรศาสตร์ชาวยุโรปที่เดินทางไปค้นคว้าเรื่องพืช  และ

เห็ดวิเศษต่างๆ    มีเรื่องเล่าว่าหลังจากที่เก็บตัวอย่างพืชและเห็ดต่างๆอย่างคร่ำเคร่งตลอดวัน

แล้วพ่อมดแม่มดเหล่านี้ก็ผ่อนคลายความตึงเครียด   ด้วยการเล่นควิดดิชภายใต้สายตางงงวย

ของชุมชนผู้วิเศษชาวพื้นเมือง  การเผยแพร่ควิดดิชไปยังออสเตรเลียเชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อคริส

ศตวรรษที่18อาจกล่าวได้ว่าออสเตรเลียเป็นดินแดนในอุดมคติสำหรับการเล่นกีฬาควิดดิชที่

เดียวเพราะว่ามีพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไปดูภายในทวีปกว้างใหญ่ไพศาล   และไม่มีคนอยู่อาศัย

เลยเหมาะสมที่จะจัดทำสนามควิดดิชได้มากมายหลายแห่งทีม

แอฟริกา    ไม้กวาดน่าจะเข้าไปในแอฟริกาโดยพ่อมดและแม่มดชาวยุโรปที่เดินทางไปที่นั่น

เพื่อค้นหาความรู้เกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุและดาราศาสตร์   ศาสตร์สองแขนงที่พ่อมดชาว

แอฟริกากันเชี่ยวชาญเป็นพิเศษแม้ว่าปัจจุบันกีฬาควิดดิชจะไม่ได้เล่นกันแพร่หลายเหมือนใน

ยุโรป  แต่กีฬานี้ก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นทุกทึทั่วทวีปแอฟริกาปรากฏว่ายูกันดาเป็นประเทศที่

สนอกสนใจเล่นกีฬาควิดดิชมาก 

เอเชีย   ควิดดิชไม่บรรลุถึงความนิยมสุดยอดในดินแดนทางตะวันออกเพราะไม้กวาดบินเป็น

ของหายากในประเทศแถบนี้ที่ยังคงนิยมใช้พรมเป็นเครื่องช่วยบินมากกว่ากระทรวงเวทมนตร์

ของประเทศที่ยังคงส่งพรมเหาะเป็นสินค้าออกที่สำคัญ  ได้แก่ ปากีสถานอินเดีย บังกลาเทศ

อิหร่าน มองโกเลีย  ต่างก็เฝ้าจับตาดูกีฬาควิดดิชด้วยความระหวาดระแวงอย่างไรก็ตาม กีฬา

นี้มีแฟนๆอยู่บ้างในกลุ่มพ่อมดทั่วไป   ประเทศที่เป็นข้อยกเว้นจากกฎทั่วไปนี้คือญี่ปุ่นควิดดิช

———————————————————————————————————-

บทที่ 9 พัฒนาการของไม้กวาดแข่ง

ไม้กวาดโอ๊กชาฟต์ 79 (Oakshaft 79)    

ไม้กวาดมูนทริมเมอร์ (Moontrimmer)

ซิลเวอร์ แอร์โรว์ (SilverArrow)

ไม้กวาด คลีนสวีปวัน(Cleansweep One)

คอมเม็ต 140(Comet 140)

ทินเดอร์บลาสต์ (Tinderblast)

ไม้กวาดสวิฟต์สติ๊ก (Swiftstick)

ชูตติ้งสตาร์(Shooting Star)

ไม้กวาดนิมบัส 1000 (Nimbus 1000)

ไม้กวาดทวิกเกอร์ 90 (Twigger 90)

 —————————————————————————————————–

บทที่ 10 กีฬาควิดดิชในปัจจุบัน

ต่อไปนี้คือท่าเล่นพิสดารบางทาที่ยกมาเป็นตัวอย่าง

บลัดเจอร์ แบ็กบีต (Bludger Backbeat)

ด๊อปเปิ้ลบีตเตอร์ ดีเฟนซ์ (Dopplebeater Defence)

ดับเบิ้ล เอต ลูป (Double Eight Loop)

ฮอกส์เฮด อะแทกกิ้ง ฟอร์เมชั่น (Hawkshead Attacking Formation)

พาร์กินส์ พินเชอร์ (Parkin’s Pincer)

พลัมป์ตัน พาส (Plumpton Pass)

พอร์สคอฟ พลอย (Porskoff Ploy)

รีเวิร์ส พาส (Reverse Pass)

สล็อท กริป โรลล์ (Sloth Grip Roll)

สตาร์ฟิชแอนด์สติ๊ก (Starfish and Stick)

ทรานซิลเวเนียน แท็กเคิล (Transylvianian Tackle)

วูลลองกอง ชิมมี่ (Woollongong Shimmy)

—————————————————————————————————————

 

 

ดูฉบับเต็มได้ที่ http://www.hp-platform934.com/applicort/hogwarts/forum-viewthread-tid-25243-fromuid-1.html

คัดลอกโดย พอลล่า ที. ลินคอล์น                                                                                                                                                       เครดิต หนังสือ Quidditch Through the Ages (ฉบับภาษาไทย)

Report

What do you think?

Written by hogwarts934

รูปภาพ Fan Art แฮร์รี่ พอตเตอร์ จากสมาชิก HP-Platform934.com

วิดีโอ วิธีปรุงน้ำยา Cure for Boils ใน Pottermore เวอร์ชั่น Beta